Friend
   บรรจง เกียรติสิงห์นคร


เรา เตะตะกร้อที่โครงสร้างของมันไม่ใช่อากาศข้างใน ซึ่งต่างจากลูกบอลในกีฬาประเภทอื่น

ตะกร้อไม่ต้องใช้ที่สูบลม มีเพียงหวายสานกันอย่างมีระบบห่อหุ้มอากาศ และสามารถลอยไปได้ไกล

วิกีพีเดียบอกว่าตะกร้อเกิดขึ้นในสมัยอยุธยา(1590-1605)

ส่วน geodesic dome ออกแบบโดย Walther Bauerfeld หัวหน้าวิศวกรบริษัท Carl Zeiss optical (1926) กว่า 300 ปีที่แตกต่างกัน หรือว่าโครงสร้างตะกร้อเป็นแรงบรรดาลใจให้เกิด geodesic dome

ลูกตะกร้อเล็กๆสามารถสะท้อนเอกลักษณ์ของไทยได้อย่างสง่างาม

geodesic design ก็ทําหน้าที่เฉกเช่นเดียวกันและจะเป็นแรงบรรดาลใจให้สถาปนิกรุ่นต่อไปรวมทั้งผมด้วยอีกคน

บรรจง เกียรติสิงห์นคร
Dallas, TX, USA
( fun reading on Geodesic Dome here ! )

*ปี 2557 บรรจง กำลังผลักดัน

PO Design อยู่ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย

 

         

 

 


ประชากรโลก 3 พันล้านคนอาจต้องพลัด
ถิ่นฐาน อพยพหนีอากาศร้อนเหมือนทะเล
ทรายในอีกครึ่งศตวรรษข้างหน้า,BBC

 

 

 

Bohemian Rhapsody 2018    (Trailer) 

 

 

 

 

: - )

Pakkred Ofiice on Archdaily


 

 

  

 

๒๕๖๓

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๒๕๖๒

เมื่ออ่านจบแล้ว สิ่งแรกที่นึกถึงคืออยากซื้อหนังสือเล่มนี้ไปฝากทุกๆคนอันเป็นที่รัก หนังสือเขียนได้สนุก ประเด็นแหลมคมและก้าวหน้ามาก เนื้อหาภายในเล่มช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องราวต่างๆที่ผ่านมาในโลกใบนี้ และอนาคตที่กำลังจะมาถึง เป็นประโยชน์ต่อทุกผู้คนที่ได้อ่าน และการคิดงานสร้างสรรค์ของสถาปนิก

 

เซเปียนส์ ประวัติย่อมนุษยชาติ

ผู้เขียน ยูวัล โนอาห์ แฮรารี

ผู้แปล ดร. นำชัย ชีววิวรรธน์

 

ISBN 9786163016560

พิมพ์ครั้งแรก 2561

สำนักพิมพ์ยิบซี

 

 

๒๕๖๐

 

 

สวัสดีรอยต่อของยุคสมัย

 

ปีใหม่นี้ 2559/2560 ชาวจีโอได้ร่วมบันทึกการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของการปกครองไทย อันมีผลต่อจิตใจของเราทุกๆคน แต่ทุกสิ่งยังคงเคลื่อนที่ไปข้างหน้าไม่เคยหยุดนิ่ง อนาคตยังคงมาทักทายเราทุกๆวัน

 

งานออกแบบการ์ดปีใหม่ปีนี้ มองรอยต่อในแง่มุมของความจริงที่สวยงามต่อชีวิต และเปิดพื้นที่ให้แต่ละคนตีความแตกต่างกันไป ทั้งยังเสริมงานออกแบบและจัดทำเข็มกลัดจำนวน 70 อัน เพือเป็นที่ระลึกถึงวันเวลาอันทรงความหมายนี้ มอบให้กับบุคคลที่เป็นที่เคารพรักของชาวจีโอ และแบ่งปันให้กับเพือนๆ

 

 

๒๕๕๙

 

บริษัท จีโอเดสิค ดีไซน์ จำกัด

ครบรอบ 25 ปีของการก่อตั้ง

 

การ์ด ส ค ส ปีใหม่นี้

ขอส่งใจขอบคุณทุกท่าน ที่ล้วนมีความหมายต่อเรา


การให้ความสนับสนุน และมอบความไว้วางใจจากเจ้าของงาน

การได้รับความร่วมมือร่วมใจจากทุกคน  คำแนะนำ

ความช่วยเหลือ กำลังใจ จากคุณครู อาจารย์

ญาติมิตร เพื่อน รุ่นพี่ รุ่นน้อง


และขอขอบคุณทีมงานทุกคนที่ทำงานกันอย่างเต็มความสามารถ

ทั้งที่ร่วมงานกันในแต่ละช่วงเวลา และทำงานต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน


นำพาจีโอเดสิคให้เดินทางมาถึงวันนี้

 

เราทุกคนขอขอบคุณครับ : ค่ะ : ฮะ 

 
 
 
  
 

 มกราคม 2559

 

 

 

 

 

เรื่องเล่าของเซกิ 

 
 
 
  
 

 

     เซกิ รักยูโดเป็นชีวิตจิตใจ พ่อแม่พาไปฝากให้เรียนกับอาจารย์ที่เก่งที่สุดในเมือง อาจารย์ปฏิเสธ แล้วบอกให้ไปเล่นอย่างอื่นเถอะ เซกิไม่เปลี่ยนใจ นั่งคุกเข่าหน้าสำนักจนดึกดื่น อาจารย์ส่ายหน้า ยอมแพ้ต่อความมุ่งมั่น อาจารย์ตกลงรับเซกิเป็นศิษย์ แต่มีเงื่อนไขว่า จะสอนพื้นฐานให้ส่วนระดับสูงกว่านั้นจะสอนให้เพียงท่าเดียว 

 

      เซกิขอเหตุผล อาจารย์จ้องตาแล้วตอบว่า นักยูโดแขนเดียวอย่างเธอ เรียนแค่นี้ก็มากเกินไปแล้ว เซกิก้มหน้ายอมรับ เขาเสียแขนข้างนั้นจากอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อตอนสี่ขวบ นั่นเป็นจุดอ่อนประการเดียวที่เขายอมรับ แต่ไม่เคยยอมแพ้

 

     วันนี้ อาจารย์ส่งเซกิเข้าแข่งขันรายการแรกในชีวิต พ่อแม่มาชมพร้อมเตรียมคำปลอบใจไว้ให้ลูกชาย แต่เซกิผ่านรอบแรกไปได้อย่างง่ายดายด้วยท่าทุ่มท่าเดียวที่ซ้อมมากว่า 6 เดือน เซกิผ่านเข้ารอบลึกๆด้วยท่าเดียว จังหวะเดียว บางครั้งเซกิต้องรออยู่นานจนคู่ต่อสู้ขยับเข้าจังหวะทุ่มที่เขาถนัด กว่าจะรู้ตัวเซกิก็ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ

     คู่ต่อสู้ของเซกิ เป็นแชมป์เก่าโตกว่า แข็งแรงกว่า และแทบจะไม่มีจุดอ่อน ที่เซกิจะเอาชนะได้เลย เซกิกัดฟันรอและรอจนคู่ต่อสู้เผลอลดการ์ด เซกิทุ่มลงพื้น ด้วยท่าเดียวที่เรียนมา และเป็นท่าที่พาเซกิเป็นแชมป์   
     เซกิคิดว่าตัวเองอยู่ในความฝัน แขนข้างเดียวกอดถ้วยรางวัลแน่น ก่อนจะเอ่ยถามอาจารย์ว่า "เซ็นเซ ทำไม ผมถึงชนะได้ด้วยท่าทุ่มท่าเดียว?" เซ็นเซ ยกแขนขึ้นกอดอก แล้วบอกกับลูกศิษย์ว่า"เพราะท่าที่เซ็นเซถ่ายทอดให้เธอ เป็นไม้ตายสุดยอดของยูโด ซึ่งมีท่าแก้อยู่ท่าเดียวเท่านั้น คือการยึดมือซ้ายของคู่ต่อสู้แล้วกระชากกลับ" เซกิ เหลือบตาไปมองไหล่ซ้ายที่ปราศจากแขน บางทีจุดอ่อนที่สุดที่ทุกคนเห็น อาจจะเป็นจุดที่แข็งแกร่งที่สุดของมนุษย์อย่างเซกิ

     

 
 
 
 

o o o o o o o

 
 
 
 
 
 
 

วันนี้ หลายๆครั้ง

เราก็มองหาแต่ข้อเสีย ของตัวเอง

แต่สุดท้าย

ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วบนโลกใบนี้

ล้วนดีเสมอ

 

o o o o o o o

 

ยูโด มีหลักการและวัตถุประสงค์คือ 

มุ่งบริหารร่างกายและจิตใจให้มีประสิทธิภาพ

สูงสุดโดยใช้แรงน้อยที่สุด 

เพื่อสวัสดิภาพและประโยชน์สุขร่วมกัน 

ด้วยวิธีการโอนอ่อนผ่อนตามที่เรียกว่า

“ทางแห่งความสุภาพ”

 

o o o o o o o

 

     เรื่องเล่าที่นักจัดรายการวิทยุคนหนึ่ง

นำมาออกอากาศในบ่ายวันหยุด

คงไม่ใช่เราคนเดียวที่ฟังแล้วประทับใจ

เพราะอีกเพียงสองสามวันก็กลายมาเป็นเรื่องส่งต่อในบันทึกออนไลน์

ของคนอีกหลายคนพร้อมๆกัน

      เช่นเดียวกับเรื่องส่งต่อทุกเรื่อง

เราอาจจะอยากค้นหา ย้อนไปให้ถึงต้นเรื่องต้นคิด อาจจะอยากให้คนอื่น ได้เห็นคล้อย ซาบซึ้ง ชื่นชม นำมาขบคิด และสนทนาโต้เถียงกันต่อ แล้วแต่นิสัยและธรรมชาติของแต่ละคน

 

o o o o o o o

 

 

 

ปีใหม่นี้เรามีกฎอัยการศึก

 

 

 

o o o o o o o

 

 

เรื่องเล่าของเซกิ

พฤศจิกายน, ๒๕๕๗

( # เซกิ นักยูโดแขนเดียว / One Arm Judo Champion )

 

หรือ

คลิ๊กเพื่ออ่านเรื่องเต็ม ได้ ที่นี่

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 

 

กุมภาพันธ์, ๒๕๕๗

 

"ช่วงนั้นเป็นปลายฤดูหนาว ดอกท้อจึงโรยเกือบหมดเหลือเพียงสีชมพูประปราย หมอกจางทอดตัวนิ่งอยู่ตามหุบเขาข้างล่าง ลมสงบนิ่งไม่มีอะไรไหวติง แม้แต่ใบไม้หรือกลีบดอกท้อก็ไม่ร่วงหล่นปลิวคว้างเหมือนในบทกวี ช่วงนั้นสิ่งที่ผมต้องการมากที่สุด คือให้มีลมโชยพัดเพียงแผ่วเบา"

 

จากบท ความสงบในลมหนาว

 

"ปรัชญาของมนุษย์คือการเดินทาง เพราะบ้านไม่ได้กำหนดคุณภาพให้มนุษย์ เส้นทางเดินชีวิตต่างหากที่ทำให้คุณค่าในตัวมนุษย์แตกต่างกันออกไป"

 

หนังสือเล่มนี้รวบรวมแง่มุมการตกผลึก และความเปลี่ยวเหงาของชีวิตได้ดีเหลือเกิน หยิบมาอ่านได้ไม่รู้เบื่อ 

อาจารย์ธีรยุทธ์คงไม่สามารถเขียนงานชีวิต ได้ดีไปกว่าเล่มนี้อีกแล้ว

 

การเดินทางในจิตใจ : บทตริตรองชีวิตและธรรมชาติ 
ผู้เขียน  ธีรยุทธ บุญมี

 

 

ISBN      9789740954514
พิมพ์ครั้งแรก พฤศจิกายน 2550 
สำนักพิมพ์     สายธาร

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 



คุรุวิพากษ์คุรุ
MEETING WITH REMARKABLE PEOPLE

หนังสือวิพากษ์แก่นความคิดของศาสดาและนักปราชญ์ระดับสุดยอดทั้งหลายได้อย่างสนุกสนาน ท้าทาย ความแรงระดับฉีดยาเข้าเส้น ไม่อ้อมค้อม จี้แหวกผ่านม่านลวงตา ฝ่าไปถึงใจกลางจุดมุ่งหมายของอภิบุคคล อาทิ พระพุทธเจ้า พระเยซู โสกราตีส พิธากอรัส จวงจื่อ นิทเช่ และจอมยุทธ อีกหลายท่าน คนที่ชีวิตมีศรัทธานำทางอาจอ่านไม่รู้เรื่อง งงและเต็มไปด้วยข้อขัดแย้ง บทความวิพากษ์พระพุทธเจ้าบทเดียวของโอโช อาจเป็นแสงสว่างที่เจิดจ้ากว่าความเข้าใจในศาสนาพุทธที่สอนกันมาในสังคมไทย สนุกที่สุดเมื่ออ่านเรื่องของโสกราตีส ยี่สิบห้าศตวรรษผ่านไปแล้ว วันที่เอเธนส์เลือกจะวางยาพิษโสกราตีสก็ได้วางยาพิษจิตวิญญาณทั้งปวงของกรีกไปด้วย กรีกไม่เคยเป็นกรีกที่รุ่งโรจน์ได้อีกเลย นับแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ คุณโตมร ศุขปรีชา แปลและเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ได้อย่างลงตัว แต่ข้อเสียประการสำคัญที่พบเห็นคือ ชื่อหนังสือ คำนำ และ ARTWORK ไม่ส่งเสริมแก่นของเนื้อหา

 

คุรุวิพากษ์คุรุ
ผู้เขียน  OSHO
ผู้แปล   โตมร ศุขปรีชา
 

ISBN      9786119015401
พิมพ์ครั้งแรก เมษายน 2552
สำนักพิมพ์     GM BOOKS

 

 

 

 



 

ปีใหม่ 2555

ทางผมเองก็ต้องมานั่งนึกว่าจะจัดทำการ์ดปีใหม่อย่างไร และจะมีของขวัญที่เหมาะสม ส่งความคิดความเอื้ออาทรต่อคนรู้จัก คนที่เคารพนับถือ เพื่อนสนิทมิตรสหาย สร้างความกังวลไม่น้อยเป็นประจำทุกๆ ปี เรื่องแบบนี้เคยคิดล่วงหน้าแล้วไม่สำเร็จ

คืนวันนึงก่อนหน้าปีใหม่เล็กน้อย ได้หยิบหนังสือปัญญาญี่ปุ่น ที่น้องจีจาก บริษัท นายช่างไทย จำกัด เคยฝากให้เป็นของขวัญปีใหม่เมื่อปีก่อนขึ้นมาอ่าน เนื้อหาดีน่าศึกษา อาร์ตเวิร์ครูปเล่มลงตัว คุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา แกเขียนได้ไหลลื่นอ่านเพลิน เมื่ออ่านจบผ่านไปหลายวัน ไปพบเห็นรูปภาพถ่ายมือหญิงสาวชาวญี่ปุ่น ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รู้สึกได้ถึงความงามของการต่อสู้ กับความยากลำบาก เป็นรูปที่สวยจับใจผมเหลือเกิน เพ่งมองอยู่นานก็นึกในใจว่า นี่แหละ CONCEPT ในการออกแบบการ์ดปีใหม่ของเรา ที่จะเข้ากับภาวะการณ์ของประเทศหลังเผชิญวิกฤตการณ์น้ำท่วมใหญ่ และคุณกาพย์ก็ได้ดำเนินการออกแบบจนแล้วเสร็จ เติมแต่งเนื้อหา ความหมาย และความงาม แล้วของขวัญล่ะ จะเป็นอะไรดี ผมก็ไปเดินหาตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ ด้วยความกังวล แต่พยายามมีความสุข จนสายตามาพบกับหนังสือปัญญาญี่ปุ่น บนแผงหนังสือ จึงรู้ว่าเราได้ของคู่กันแล้ว

WORK 2012
สมบูรณ์ สุดมากศรี

 

ปัญญาญี่ปุ่น 
ผู้เขียน  ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา 

ISBN 9 786167 347097 
พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2553 
สำนักพิมพ์ OPENBOOK

 

 

 

 



เชิญชวนอ่านหนังสือดีราคาไม่แพง  อาร์ทเวิร์คเชยไปนิด ตัวอักษรมีขนาดที่อ่านแล้วสบายตา

อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระทางสถาปัตยกรรม วิศวกรรม การเมือง การหักเหลี่ยมเฉือนคม

แรงริษยา ราวนวนิยายแนวดรามา

โปรดติดตามอ่านโดยพลัน

มหัศจรรย์สถาปัตยกรรมโลก
SYDNEY OPERA HOUSE

ผู้เขียน ร.ศ.อภิชา ภาอารยพัฒน์

ISBN 978-974-401-725-3
จัดจำหน่ายโดย
สายส่งศึกษิต
บริษัทเคล็ดไทย จำกัด
0 2225 9536-40
หาซื้อได้ที่
ร้านกองดิคส์ *

 

*ย้ายไปร้านใหม่แล้ว

สวย, น่านั่งอ่านหนังสือมาก

เข้าจากท่าน้ำคลองสาน หรือ ด้านสุดถนนลาดหญ้า

หน้าเขตคลองสานได้ทั้งสองทาง

02 861 0967

 

 

 

 

 

 

 

 

 

DESIGN TEAM

 

สมบูรณ์ สุดมากศรี

SOMBOON  SUDMAKSRI, 1963

Managing Director /

Chartered Architect

 

กาพย์ บุญทวี

KARP  BOONTHAVI, 1963

Director / Professional Architect

 

ขวัญลักษณ์ ภาสวรวิทย์

KWANLUK  PASSVORAWIT

Director / Professional Architect

 

นิยม หนูเล็ก

NIYOM  NUULEK

Senior Architect

 

ประภากร กิมิพันธ์

PRAPAKORN  KIMIPHAN

Architect

 

นิวัฒน์  วรกิจไพบูลย์ 

NIWAT  WORRAKITPAIBOON

Architect

 

ณิชามาศ พิสุทธิ์ปัญญา

NICHAMAS PISUTPUNYA

Architect

 



สิทธิโชค ชุ่มดี
SITTICHOK CHUMDEE
Architect
 

อิศรา สว่างฤทธิ์

ISSARA  SAWANGRIT

Technician

 

พิพัฒน์ ประเสริฐ

PIPAT  PRASERT

Technician

 

ภัสพร สุนันต๊ะ

PATSAPORN  SUNANTA

Accountant

 

 

 

CONSTRUCTION 

SUPERVISION

TEAM

 

เจริญชัย ทวีผลสมเกียรติ

CHARERNCHAI  TAWEEPHON, 1963

Project Manager

 

ปิฏฐะ ปุณโณทก

PITTHA  POONOTOKE, 1962

Project Manager

 

พรศักดิ์ อนันต์ปรีดาสุข

PORNSAK  ANANPREEDASUK

Project Manager

 

ธนรัตน์ จันทร์คลองใหม่

THANARAT CHANKLONGMAI

Civil Engineer

 

คมสัน อินทจันทร์

KOMSAN  INTACHAN

Civil Engineer

 

ธวัชชัย มณีศรี

THAWATCHAI  MANEESRI

Supervisor

 

ปิติ เพ็ชรครุฑ

PITI  PHETKRUT

Supervisor

 

ทศภาค ก้านทอง

TOSAPAK  KANTONG

Supervisor

 

นิตยา เพ็ชรครุฑ

NITTAYA  PHETKRUT

Accountant